“โค้ชเฮง” วิทยา เลาหกุล ถือว่าเป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการฟุตบอลไทยมาอย่างยาวนานกว่าค่อนชีวิต นับตั้งแต่เริ่มต้นตอนเป็นนักฟุตบอล
วิทยา เลาหกุล ได้ลงสมัครเป็นอุปนายกสมาคมฟุตบอลไทย ภายใต้ทีมของ “บิ๊กอ๊อด” สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่เพิ่งจะได้เป็นนายกสมาคมฟุตบอลคนที่ 17 ไปหมาด ๆ ซึ่งโดยตำแหน่งที่ได้วางเอาไว้แล้วนั้นทางด้านของ “โค้ชเฮง” จะได้เข้าไปนั่งอยู่ในตำแหน่งประธานเทคนิคทีมชาติไทย
สำหรับตำแหน่งประธานเทคนิคนั้นมีหน้าที่อะไรหลาย ๆ คนน่าจะอยากรู้ว่ามีเพื่ออะไรแล้วทำไมถึงต้องมี โดยตำแหน่งนี้ก็เหมือนกับตำแหน่งที่ต้องคอยประสานในหลาย ๆ ด้านกับทั้งทางสโมสรภายในประเทศหรืออาจจะรวมไปถึงฟุตบอลนักเรียนด้วยก็ได้ เพราะว่าเหมือนกับจะเน้นไปในทางวางรากฐานให้กับทีมชาติอีกทีหนึ่ง
แน่นอนว่าทั้ง ประธานเทคนิค และกุนซือทีมชาติ ต่างก็ต้องคุยกันว่าจะวางแผนอย่างไรดีให้ทุก ๆ อย่างมันดีที่สุดกับทีมชาติไทย งานนี้ “โค้ชเฮง” วิทยา เลาหกุล จะต้องเป็นฝ่ายลงพื้นที่เพื่อทำการเจรจากับสโมสรต่าง ๆ รวมไปถึงโรงเรียนมัธยมอีกมากมายเพื่อเจรจาถึงความเป็นไปได้ที่จะให้มุ่งเน้นไปในทางเดียวกันกับทีมชาติ
ถ้าหากจะให้ตีความง่าย ๆ ก็เหมือนกับที่ โยอาคิม เลิฟ กุนซือใหญ่ทีมชาติเยอรมนี เคยกล่าวเอาไว้เมื่อตอนที่พาทีมชาติเยอรมันคว้าแชมป์โลกเมื่อปี 2014 ว่า กว่าที่ทีมชาติเยอรมันยุคใหม่จะมาถึงตำแหน่งแชมป์โลกได้เขา และทีมงานต้องวางแผนกันมาหลายปีมากเพื่อให้สโมสรทั้งหลายในประเทศ รวมไปถึงโรงเรียนต่าง ๆ ร่วมมือกันที่จะใช้แผนการเล่นเดียวกับทีมชาติ เพื่อที่ว่าพอนักเตะที่ถึงขั้นมาติดทีมชาติปุ๊บก็ไม่ต้องปรับตัวอะไรมากแล้ว และพยายามเรียนรู้เพียงแค่แท็กติคโค้ชเท่านั้นด็เพียงพอ
ซึ่งงานนี้ที่จะต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเยาวชนเป็นหลักนั้นคงจะไม่มีใครเหมาะสมไปกว่า “โค้เฮง” วิทยา เลาหกุล อีกแล้ว เพราะว่าชายผู้นี้ถือว่าเป็นนักปั้นเยาวชนมือทองเลยก็ว่าได้ อย่างนักเตะรายล่าสุดที่ถือว่าฝีเท้าล้ำหน้าอายุไปมาก และกำลังเป็นที่รู้จักของแฟนบอลนั่นก็คือ “เจ้ายิม” วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ นั่นเอง
ประวัติโดยย่อ
วิทยา เลาหกุล (เฮง)
รางวัลในฐานะนักเตะ
รางวัลส่วนบุคคล
หนึ่งใน 11 ผู้เล่นที่ดีที่สุดของลีกญี่ปุ่น: (มัตซึชิตะ (กัมบะ โอซากะ))
รางวัลร่วมกับทีม
แชมป์ซีเกมส์: ปี 2520 (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์)
แชมป์ซีเกมส์ (กัปตันทีม) : ปี 2528 (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์)
แชมป์ลีกOberliga S?dwestเยอรมัน : ปี 2526 (สโมสรซาร์บรุ๊คเคน)
รางวัลส่วนบุคคล
หนึ่งใน 11 ผู้เล่นที่ดีที่สุดของลีกญี่ปุ่น: (มัตซึชิตะ (กัมบะ โอซากะ))
รางวัลร่วมกับทีม
แชมป์ซีเกมส์: ปี 2520 (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์)
แชมป์ซีเกมส์ (กัปตันทีม) : ปี 2528 (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์)
แชมป์ลีกOberliga S?dwestเยอรมัน : ปี 2526 (สโมสรซาร์บรุ๊คเคน)
รางวัลในฐานะผู้จัดการทีม
ทีมชาติไทย
ควีนสคัพ ชนะเลิศ 1 สมัย: 2535
ซีเกมส์ (การแข่งขันฟุตบอล) ชนะเลิศ 1 สมัย: 2540
ธนาคารกรุงเทพ
ไทยพรีเมียร์ลีก ชนะเลิศ 1 สมัย: 2539,2540
ชลบุรี เอฟซี
ไทยพรีเมียร์ลีก รองชนะเลิศ 1 ครั้ง: 2554
ไทยคม เอฟเอคัพ ชนะเลิศ 1 ครั้ง : 2553
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ถ้วย ก ชนะเลิศ 4 สมัย: 2551, 2552, 2554, 2555
ทีมชาติไทย
ควีนสคัพ ชนะเลิศ 1 สมัย: 2535
ซีเกมส์ (การแข่งขันฟุตบอล) ชนะเลิศ 1 สมัย: 2540
ธนาคารกรุงเทพ
ไทยพรีเมียร์ลีก ชนะเลิศ 1 สมัย: 2539,2540
ชลบุรี เอฟซี
ไทยพรีเมียร์ลีก รองชนะเลิศ 1 ครั้ง: 2554
ไทยคม เอฟเอคัพ ชนะเลิศ 1 ครั้ง : 2553
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ถ้วย ก ชนะเลิศ 4 สมัย: 2551, 2552, 2554, 2555
รางวัลส่วนบุคคล
โค้ชยอดเยี่ยมประจำปีไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก : (สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ)
โค้ชยอดเยี่ยมประจำปีไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก : (สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ)
รางวัลร่วมกับทีม
ชนะเลิศ : Emperor’s Cup (มัตซึชิตะ (กัมบะ โอซากะ)) ปี 2533
ชนะเลิศ : ควีนส์คัพที่ประเทศไทย (มัตซึชิตะ (กัมบะ โอซากะ)) ปี 2535
ชนะเลิศ : ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล2539 (สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ)
ชนะเลิศ : เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่19 ที่อินโดนีเซีย (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์) ปี 2540
ชนะเลิศ : Emperor’s Cup (มัตซึชิตะ (กัมบะ โอซากะ)) ปี 2533
ชนะเลิศ : ควีนส์คัพที่ประเทศไทย (มัตซึชิตะ (กัมบะ โอซากะ)) ปี 2535
ชนะเลิศ : ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล2539 (สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ)
ชนะเลิศ : เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่19 ที่อินโดนีเซีย (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์) ปี 2540